11 ธ.ค. 2553

สรุป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านวิชาการ

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
                ในยุคปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันของคนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  เนื่องจากราคาคอมพิวเตอร์ที่ไม่แพงและสามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้นทำให้หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา ธนาคาร ธุรกิจต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานที่ราชการต่างๆ  งานบันเทิง และงานด้านความมั่นคงของชาติ ได้นำในส่วนงานต่างๆ มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทกับกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างมาก  นอกจากจะสามารถอำนวยความสะดวกในการทำงานของสำนักงานแล้ว ครูผู้สอนสามารถนำคอมพิวเตอร์มาสร้างสื่อการเรียนการสอนได้อย่างสวยงายและมีประสิทธิภาพ เช่น สามารถนำมาสร้างสื่อการเรียนการสอน, นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาสร้างระบบการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนหรือนักศึกษาสามารถเข้ามาเรียนรู้บทเรียนได้ตลอดเวลาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และใช้ในการสืบค้นเอกสารทำให้รูปแบบการเรียนรู้มีได้หลากหลายและกว้างขวางมากขึ้น
รูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากในยุคโลกาภิวัฒน์ข้อมูลและความรู้สามารถค้นหาและเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง โดยไม่ยึดติดกับสถานที่และเวลาอีกต่อไป เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ผู้เรียนก็สามารถหาความรู้ได้จากทุกแห่งทั่วโลก ดังนั้นจะพบว่าในการศึกษาระดับต่างๆ ได้เริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนในระดับต่างๆ อย่างกว้างขวาง
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
1.  การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
             2.  การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะบางประการ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
                            3.  การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบ การสื่อสาร 2 ทาง (Interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้นแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
1.การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญากระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือ กระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
(1)       การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)
(2)       การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
(3)       การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
(4)       การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)
(5)       การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)
ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน  ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึก การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
2.การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น สามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สออาจจัดบุญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และจาก Electronic Sources เช่น  ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ  ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้
แนวทางการประยุกต์ใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
         การประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา นักการศึกษาและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงต้องร่วมกันวางแผน ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ปัจจัยสำคัญของการวางแผนที่จะทำให้เกิดเป็นผลสำเร็จนั้น เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ไอซีทีเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมายต่อผู้เรียน          
         การนำไอซีทีไปใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดผลนั้น ผู้เกี่ยวข้องจะต้องตัดสินใจในหลายๆด้านได้แก่ ด้านเทคนิค การาฝึกอบรม งบประมาณ วิธีสอน วิธีการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และต้องเรียนรู้ว่าจะนำสิ่งใหม่ที่เรียนรู้นี้มาใช้ให้เกิดผลอย่างไรในการเรียนการสอน
         การออกแบบวางแผนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนการสอนให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนหลักของโรงเรียนช่วยให้สถานศึกษามีการนำเทคโนโลยีไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนควรใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนเป้าหมายหลักสูตรของโรงเรียน ใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลงการสอนสู่การเรียนรู้
กลวิธีการบูรณาการไอซีทีในการเรียนการสอน แบ่งได้เป็น 10 วิธี ดังนี้
       1. ใช้ในการศึกษาค้นคว้า รวบรวมสารสนเทศและการวิเคราะห์เป็นวิธีที่นักเรียนใช้อินเทอร์เน็ตในการรวบรวมประมวลข้อมูลเพื่อตอบคำถาม 
       2. ใช้ในการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญเป็นวิธีใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงนักเรียนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ขยายสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรกับสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน และบูรณาการแหล่งเรียนรู้จากอินเทอร์เน็ตสู้ห้องเรียน
       3. ใช้เว็บเป็นติวเตอร์หรือผู้สอนเป็นวิธีใช้เว็บนำเสนอบทเรียนออนไลน์วิชาต่างๆ
       4. เผยแพร่ผลงานนักเรียนเป็นวิธีนำผลงานนักเรียนเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์โรงเรียนหรือเว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
       5. อภิปราย / กระจายความคิด อีเมล์และเว็บใช้เป็นแหล่งความคิดและสารสนเทศ ความคิดเผยแพร่กระจายผ่านอีเมล์ หรือการจัดให้มีกิจกรรมเพื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกวิธีหนึ่งของการแลกเปลี่ยนความคิด กิจกรรมเพื่อทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ใช้ได้กับหลักสูตรทุกหลักสูตร
       6. ร่วมมือในการทำโครงงานด้วยกันโดยใช้ทรัพยากรจากเว็บเป็นวิธีให้นักเรียนร่วมมือทำกิจกรรมโครงงาน ทั้งที่นักเรียนอยู่ต่างที่กันโดยใช้อินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงประมวลข้อมูลและติดต่อสื่อสาร ร่วมกันคิดและร่วมกันทำ
       7. ใช้ทรัพยากรมัลติมีเดียจากอินเทอร์เน็ต เป็นวิธีที่นำภาพและเสียง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอ ฐานข้อมูล และทรัพยากรบุคคลเพื่อเสริมการเรียนรู้ในหลักสูตร
       8. โลกของการทำงานขึ้นอยู่กับพนักงานที่มีความชำนาญทางเทคนิค จึงจำเป็นต้องเริ่มสร้างทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนี้ให้นักเรียนตั้งแต่ในช่วงที่ยังอยู่ในโรงเรียน
       9. ใช้เทคโนโลยีอย่างมีจุดมุ่งหมายในการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นวิธีจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสู่การปรับปรุงการเรียนรู้และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง
      10. ผสมผสานการเรียนรู้ด้วยโครงงานหรือการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาโดยใช้มัลติมีเดียในการเรียนรู้ด้วยโครงงาน นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำโครงงานด้วยกันและได้รับประสบการณ์จากการผสมผสานทักษะระหว่างวิชา ทั้งจากคณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ ภูมิศาสตร์วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยโครงงานมีศักยภาพในการเพิ่มความรู้สึกรับผิดชอบ ควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง นักเรียนที่ได้รับการกำหนดเป้าหมายของตนเองจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น
จุดมุ่งหมายของการใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
      การนำคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการเรียนการสอนนั้น โดยทั่วไปจำแนกจุดมุ่งหมาย ออกได้ ประการ คือ
        1. เรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จุดมุ่งหมายการเรียนรู้นี้มีเป้าหมายให้นักเรียนเกิดความรู้ความสามารถพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
        2. นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดการสอนของครู  ในหลักสูตรวิชาต่างๆ จุดมุ่งหมายนี้ช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสาร
        3. นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างชิ้นงานของนักเรียน เป็นการบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับหลักสูตรและเนื้อหา
สรุป
       แนวทางการประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอน เกี่ยวข้องกับการมีความรู้และการทำความเข้าใจถึงศักยภาพของไอซีทีในการสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดกลวิธีที่จะบูรณาการไอซีทีในการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ การทำความเข้าใจกับจุดมุ่งหมายของการใช้ไอซีทีว่ามีความครอบคลุมต่อการนำไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร และจะจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพในบริบทของความพร้อมที่แตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงการเลือกซอฟแวร์ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ตามแนวของนักคอนสตรัคติวิสต์ ที่สำคัญที่สุดคือการทำความเข้าใจถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปของครู และการเตรียมตัวของครูต่อการประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอน

สรุป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร

 เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร เพื่อเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ครบวงจรการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานด้านวิชาการ  ด้านการบริหารงานด้านกิจการนักเรียน  ด้านการบริหารงานธุรการ  และด้านการบริหารงานบริการ  เพื่อเป็นฐานข้อมูล ในการบริการแก่สมาชิกในองค์กร และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการสนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ สถานการณ์หรือ เหตุปกติ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต

สรุป นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
           ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) หมาย ถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย  4  ทฤษฎี
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
            1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
            1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
            1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
3. ทฤษฎีระบบ
4. ทฤษฎีการเผยแพร่


สรุป แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

1.วิสัยทัศน์
                ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน  ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล
2.พันธกิจ
1.  การใช้ ICT   พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ การเรียนรู้ 
2.  การใช้ ICT   เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการศึกษา
3.  การผลิตและพัฒนาคุณภาพผู้จบการศึกษาด้าน ICT เพื่อการพัฒนาประเทศ          
3.เป้าประสงค์
            1.  การเรียนรู้ในระบบ  นอกระบบ และตามอัธยาศัย  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT - based   Learning) ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพ:
2.  การบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา  ของหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา เป็นการบริหารจัดการที่ใช้ ICT เป็นฐานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
            3.  ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน  ICT   ที่มีคุณภาพ เพียงพอ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ  และในทุกพื้นที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง
4.เป้าหมาย  ภายในปี 2554
           1.  สถานศึกษาทุกแห่ง  ทุกระดับจัดการเรียนการสอน โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT- based Learning)   และเป็นศูนย์การเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกที่มีความเร็วสูง   โทรทัศน์การศึกษาและสื่อ ICT  อื่นๆ  ตามมาตรฐานที่กำหนด
2.การจัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีศูนย์บริการการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานในทุกจังหวัด  เขตพื้นที่การศึกษา และทุกตำบล
           3.หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ร้อยละ 80  ใช้ ICT  เพื่อการบริหารจัดการ ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
4.มีหน่วยงานหรือองค์กรบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในทุกระดับ
5.ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา อย่างน้อยร้อยละ 80  มีสมรรถนะทาง  ICT  ตามมาตรฐานที่กำหนด
6.ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ อย่างน้อยร้อยละ  80  มีมาตรฐานสมรรถนะด้าน ICT  ตามมาตรฐานหลักสูตรแต่ละระดับ   และผู้สำเร็จการศึกษาด้าน ICT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50  ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล
7.ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาเทคโนโลยีกับผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่น คิดเป็นสัดส่วน  50 : 50
8.ประชาชนที่ด้อยโอกาสและอยู่ห่างไกล ร้อยละ 90 ได้รับข่าวสาร ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากแหล่งความรู้ผ่านสื่อ ICT  และร้อยละ 70  ของประชากรวัยแรงงานใช้สื่อ ICT เพื่อยกระดับการศึกษาของตนเอง
           ยุทธศาสตร์ที่ 1    การสร้างโอกาส  เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (e - Learning)
ยุทธศาสตร์ที่  2     การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการ ให้บริการทางการศึกษา (e- Management)
ยุทธศาสตร์ที่ 3    การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e - Manpower)
6.ยุทธศาสตร์  เป้าประสงค์  เป้าหมาย กลยุทธ์  ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ แผนงาน/กิจกรรม  หน่วยงานเจ้าภาพหลัก  แผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ..2550–2554
7.สรุปเกี่ยวกับบทบาทครูที่ต้องปฏิบิตตามยุทธศาสตร์  ทั้ง  3  ด้าน
                ตามยุทธศาสตร์ที่ 1  e – Learning  เป็นการส่งเสริมให้ครู  บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา พัฒนา  ผลิตและใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ (e-Contents) เพื่อการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำหนด  และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วย ICT (e-Learning System) ในรูปแบบที่หลากหลาย
                ยุทธศาสตร์ที่ 2  e-Management  สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาระบบด้าน ICT  และเครือข่าย การใช้ระบบงานอิเล็กทรอนิกส์และพัฒนาตามมาตรฐานระบบงานที่รัฐบาลกำหนด  พัฒนาผู้ดูแลระบบให้มีทักษะการใช้เครื่องมือเป็นไปตามมาตรฐานระบบงานที่รัฐบาลกำหนดทั้ง 10 ระบบงาน  ตลอดจนให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียนและประชาชนเพื่อได้รับข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาอย่างสะดวกรวดเร็วและเพื่มทางเลือกให้กับประชาชน  และพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยภาครัฐและเอกชนในการให้บริการด้าน ICT 
                ยุทธศาสตร์ที่ 3  e-Manpower  ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน ICT ที่มีคุณภาพและเพียงพอครูต้องผลิตสื่อโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน  ซึ่งนั่นหมายถึงว่าครูจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับซอฟแวร์  และอาจหมายถึงฮาร์ดแวร์ด้วยเพราะต้องทำงานคู่กัน  ครูที่จบใหม่ ๆ อาจไม่มีปัญหามากเท่าไหร่  แต่เป็นห่วงครูที่มีอายุราชการมาก ๆ คงจะต้องปวดหัวหรือต้องหาตัวช่วย  และต้องทำการอบรมศึกษาอย่างต่อเนื่อง  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานศึกษาก็ต้องมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต  เพื่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
               

สรุป ICT Master Plan


การวิเคราะห์สถานภาพทางด้าน ICT ของประเทศไทย ซึ่งได้จากการวัดจากดัชนีมาตรฐานต่าง ๆ และการทำ SWOT เป็นต้น ซึ่งสรุปออกมาได้ 5 ประเด็น ดังต่อไปนี้
1.  สถานภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน - ผลการวิเคราะห์พบว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหาด้านการพัฒนาโครงข่ายหลัก(Backbone Network) แต่ปัญหาอยู่ที่โครงข่ายระดับปลายทาง (Last Mile Access) ที่ไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุม และด้อยคุณภาพ ซึ่งเป็นผลให้พื้นที่ห่างไกลและกลุ่มคนบางกลุ่มเช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น ยังไม่สามารถเข้าใช้งานได้ดีนัก ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารดั้งเดิมเช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น (แผนแม่บทใช้คำว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศ)
2.    สถานภาพของประชาชนทั่วไป - ผลการวิเคราะห์พบว่า คนไทยมีการใช้ ICT ในระดับต่ำ ส่วนผู้ที่เข้าถึง ICT แล้วนั้นก็ยังไม่ใช้ ICT ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง กล่าวคือใช้เพื่อความบันเทิงเป็นหลัก อีกทั้งมีการใช้งาน ICT ที่ไม่เหมาะสมอยู่มาก ซึ่งดูได้จากปริมาณของเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ และอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่มีเป็นจำนวนมาก
3.  สถานภาพด้านบุคลากรทาง ICT - ยังขาดบุคลากรทางด้าน ICT อีกมาก ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ
4.  สถานภาพด้านบุคลากรในภาครัฐ - ก็ยังขาดบุคลากรทางด้าน ICT ทั้งคุณภาพและปริมาณเช่นกัน โดยเน้นด้วยว่าเกิด
จากผลตอบแทนต่ำและขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม
5.  สถานภาพด้านการบริการจัดการ - ประเทศไทยมีหน่วยงานทางด้าน ICT เป็นจำนวนมากพอสมควร แต่มีการทำงาน
ที่ซ้ำซ้อน ต่างคนต่างทำ ไม่เป็นเอกภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการวางแผน การกำกับดูแล การจัดการงบประมาณ เป็นต้น เป็ล
ผลให้งานต่าง ๆ ขาดการบูรณาการ ขาดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และขาดการประเมินผลและติดตามผลอย่างจริงจัง
สรุปแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้าน
                จากผลการวิเคราะห์สถานภาพของ ICT ในส่วนแรก และนำมาสู่การตั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ซึ่งเป็นกรอบกว้าง ๆ ของแนวทางที่จะทำ ซึ่งต้องนำมาแตกออกเป็นยุทธศาสตร์ย่อยอีกเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ แผนแม่บทฉบับนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1.  การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
2.   การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล
3.   การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4.   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ
5.   ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
6.   การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

5 ธ.ค. 2553

สรุป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านวิชาการ

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
1.  การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
                2.  การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะบางประการ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
                3.  การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่การเรียนรู้ด้วยระบบ การสื่อสาร
2 ทาง (Interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
แนวทางการประยุกต์ใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
         การประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา นักการศึกษาและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงต้องร่วมกันวางแผน ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ปัจจัยสำคัญของการวางแผนที่จะทำให้เกิดเป็นผลสำเร็จนั้น เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ไอซีทีเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมายต่อผู้เรียน          
         การนำไอซีทีไปใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดผลนั้น ผู้เกี่ยวข้องจะต้องตัดสินใจในหลายๆด้านได้แก่ ด้านเทคนิค การาฝึกอบรม งบประมาณ วิธีสอน วิธีการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และต้องเรียนรู้ว่าจะนำสิ่งใหม่ที่เรียนรู้นี้มาใช้ให้เกิดผลอย่างไรในการเรียนการสอน
         การออกแบบวางแผนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนการสอนให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนหลักของโรงเรียนช่วยให้สถานศึกษามีการนำเทคโนโลยีไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนควรใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนเป้าหมายหลักสูตรของโรงเรียน ใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลงการสอนสู่การเรียนรู้
กลวิธีการบูรณาการไอซีทีในการเรียนการสอน แบ่งได้เป็น 10 วิธี ดังนี้
       1. ใช้ในการศึกษาค้นคว้า รวบรวมสารสนเทศและการวิเคราะห์เป็นวิธีที่นักเรียนใช้อินเทอร์เน็ตในการรวบรวมประมวลข้อมูลเพื่อตอบคำถาม 
       2. ใช้ในการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญเป็นวิธีใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงนักเรียนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ขยายสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรกับสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน และบูรณาการแหล่งเรียนรู้จากอินเทอร์เน็ตสู้ห้องเรียน
       3. ใช้เว็บเป็นติวเตอร์หรือผู้สอนเป็นวิธีใช้เว็บนำเสนอบทเรียนออนไลน์วิชาต่างๆ
       4. เผยแพร่ผลงานนักเรียนเป็นวิธีนำผลงานนักเรียนเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์โรงเรียนหรือเว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
       5. อภิปราย / กระจายความคิด อีเมล์และเว็บใช้เป็นแหล่งความคิดและสารสนเทศ ความคิดเผยแพร่กระจายผ่านอีเมล์ หรือการจัดให้มีกิจกรรมเพื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกวิธีหนึ่งของการแลกเปลี่ยนความคิด กิจกรรมเพื่อทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ใช้ได้กับหลักสูตรทุกหลักสูตร
       6. ร่วมมือในการทำโครงงานด้วยกันโดยใช้ทรัพยากรจากเว็บเป็นวิธีให้นักเรียนร่วมมือทำกิจกรรมโครงงาน ทั้งที่นักเรียนอยู่ต่างที่กันโดยใช้อินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงประมวลข้อมูลและติดต่อสื่อสาร ร่วมกันคิดและร่วมกันทำ
       7. ใช้ทรัพยากรมัลติมีเดียจากอินเทอร์เน็ต เป็นวิธีที่นำภาพและเสียง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอ ฐานข้อมูล และทรัพยากรบุคคลเพื่อเสริมการเรียนรู้ในหลักสูตร
       8. โลกของการทำงานขึ้นอยู่กับพนักงานที่มีความชำนาญทางเทคนิค จึงจำเป็นต้องเริ่มสร้างทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนี้ให้นักเรียนตั้งแต่ในช่วงที่ยังอยู่ในโรงเรียน
       9. ใช้เทคโนโลยีอย่างมีจุดมุ่งหมายในการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นวิธีจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสู่การปรับปรุงการเรียนรู้และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง
      10. ผสมผสานการเรียนรู้ด้วยโครงงานหรือการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาโดยใช้มัลติมีเดียในการเรียนรู้ด้วยโครงงาน นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำโครงงานด้วยกันและได้รับประสบการณ์จากการผสมผสานทักษะระหว่างวิชา ทั้งจากคณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ ภูมิศาสตร์วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยโครงงานมีศักยภาพในการเพิ่มความรู้สึกรับผิดชอบ ควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง นักเรียนที่ได้รับการกำหนดเป้าหมายของตนเองจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น
จุดมุ่งหมายของการใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
      การนำคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการเรียนการสอนนั้น โดยทั่วไปจำแนกจุดมุ่งหมาย ออกได้ ประการ คือ
        1. เรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จุดมุ่งหมายการเรียนรู้นี้มีเป้าหมายให้นักเรียนเกิดความรู้ความสามารถพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
        2. นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดการสอนของครู  ในหลักสูตรวิชาต่างๆ จุดมุ่งหมายนี้ช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสาร
        3. นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างชิ้นงานของนักเรียน เป็นการบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับหลักสูตรและเนื้อหา
สรุป แนวทางการประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอน เกี่ยวข้องกับการมีความรู้และการทำความเข้าใจถึงศักยภาพของไอซีทีในการสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดกลวิธีที่จะบูรณาการไอซีทีในการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ การทำความเข้าใจกับจุดมุ่งหมายของการใช้ไอซีทีว่ามีความครอบคลุมต่อการนำไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร และจะจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพในบริบทของความพร้อมที่แตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงการเลือกซอฟแวร์ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ตามแนวของนักคอนสตรัคติวิสต์ ที่สำคัญที่สุดคือการทำความเข้าใจถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปของครู และการเตรียมตัวของครูต่อการประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอน


สรุป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร

 การบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา
1.             การบริหารงานด้านวิชาการ
2.             การบริหารงานด้านกิจการนักเรียน
3.             การบริหารงานธุรการ
4.             การบริหารงานบริการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา (MIS)
        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในมาตรา 63-69 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่า ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐ เกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา 
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
             1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ
             2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
             3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
             4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content) ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
             5.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
ระบบสารสนเทศทางการศึกษา
               ระบบ (System) คือ ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ประการ คือ
1.             ข้อมูลนำเข้า  (Input)
2.             กระบวนการประมวลผล (Process)
3.             ผลลัพธ์ (Input)
4.             การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback  Control)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
1.             ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
2.             ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
3.             ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
4.             ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา
5.             ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
6.             ช่วยลดค่าใช้จ่าย
สรุป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร เป็นการพัฒนาระบบ
สารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ สถานการณ์หรือ เหตุปกติ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต