ICT Master Plan แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2
กล่าวถึง การใช้เทคโนโลยี ICT และสถานศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับจัดการเรียนการสอน โดยใช้ ICT เป็นฐาน มีการจัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่และมีศูนย์การเรียนรู้ที่ได้ มาตรฐาน มี 3 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างโอกาส เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา (e-Management)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT(e-Manpower)
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
เทคโนโลยีทางการศึกษา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของ การศึกษาให้สูงขึ้น
ความสำคัญของเทคโนโลยีด้านการศึกษา
เทคโนโลยี การศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้นสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียนการจัดการศึกษา
ICT Master Plan ฉบับที่ 2 กับหลักสูตรการเรียนการสอนและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552 – 2556)
การพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Professional) มีมาตรการเพื่อพัฒนาผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษาให้มีทักษะและคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และพัฒนาบุคลากร ICT ที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในปัจจุบัน (ICT Workforce) ให้มีความรู้ ทักษะ และศักยภาพสูงขึ้น
แผนแม่บทเทคโนโลยีและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552 – 2556) กล่าวถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน โดยการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงข่าย ICT เพื่อการศึกษา การจัดสรรงบประมาณด้าน ICT ให้แก่ โรงเรียน ที่ครอบคลุมทั้ง ค่าอุปกรณ์ ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรอย่างสมดุล สำหรับการศึกษานอกระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่เหมาะสมสำหรับสถานบริการ เช่น ห้องสมุดประจำท้องถิ่น ศูนย์สารสนเทศชุมชน เพื่อให้สามารถให้บริการอิเล็กทรอนิกส์และเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่บุคคล กลุ่มอื่นๆ ในชุมชน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาเนื้อหาที่เป็น
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism) และกลุ่มความรู้ (Cognitive)
หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ 2.การพัฒนามโนทัศน์
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี 4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ 6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน 8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล
9.การถ่ายโยงที่ดี 10.การให้รู้ผล
แนวทางการประยุกต์ใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
การประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา นักการศึกษาและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงต้องร่วมกันวางแผนในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การนำไอซีทีไปใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดผลนั้น ผู้เกี่ยวข้องจะต้องตัดสินใจในหลายๆ ด้านได้แก่ ด้านเทคนิค การาฝึกอบรม งบประมาณ วิธีสอน วิธีการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ การออกแบบวางแผนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนการสอนให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนหลักของโรงเรียนช่วยให้สถานศึกษามีการนำเทคโนโลยีไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศักยภาพของไอซีทีที่สนับสนุนการเรียนรู้
อินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่เป็นสื่อกลางของไอซีทีทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเว็บซึ่งเป็นบริการสำคัญบนอินเตอร์เน็ตอาจแยกออกเป็น 6 ประการ คือ การค้นคืนสารสนเทศ การค้นหาสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงสารสนเทศมัลติมีเดีย และการรังสรรค์งาน
บทบาทครูในการประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอน
ครูยุคใหม่
- เป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในการตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพและความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและสารสนเทศ
- เปิดใจกว้างและวิพากษ์ความคิดอย่างมืออาชีพ
- ให้ความร่วมมืออย่างกระตือรือร้น และเป็นผู้ประสานงาน
- เป็นสื่อกลางระหว่างผู้เรียนกับสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้
สมรรถนะใหม่ของครู
ครูจะต้องพัฒนาทักษะหลายอย่างด้วยกันเพื่อประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอนสมรรถภาพดังกล่าวได้แก่
- ความสามารถในการสร้างสรรค์
- ความยืดหยุ่นในการเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้
- ตรรกะทักษะในการมอบหมายงาน การเลือกแหล่งศึกษา และการจัดกลุ่มนักเรียน
- ทักษะในการทำโครงงาน ทักษะในการบริหารและจัดการ ทักษะในการร่วมมือกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น